วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทที่ 2 ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล


ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
           การสื่อสารข้อมูล ( Data communication )
           คือ การส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ซึ่งข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันนี้มีได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียง เป็นต้น เปรียบเทียบอย่างง่ายๆการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆก็เหมือนกับการพูดคุยระหว่างนักเรียนในกลุ่มหรือการโทรศัพท์คุยกัน ข้อมูลในที่นี้คือบทสนทนาที่นักเรียนแลกเปลี่ยนกันนั่นเอง


                                                            

ปัจจัยสำคัญในการสื่อสารข้อมูล

      การสื่อสาร มีองค์ประกอบ 6 ประการ คือ

        1. ผู้ส่งสาร (Sender) คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดสารไปสู่ผู้รับสาร

        2. ผู้รับสาร (Receiver) คือ ผู้ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกส่งมาจากผู้ส่งสาร

        3. สาร (Message) คือ เนื้อความ หรือข้อมูลที่ออกมาจากผู้ส่งสาร

        4. สื่อ (Channel)
           คือ ช่องทางในการสื่อสาร เช่นนักเรียนพูดคุยกันในห้องเรียนมีอากาศเป็นสื่อกลางในการส่งสารนั่นเอง หรือตัวกลางของสัญญาณต่างๆสื่อหรือตัวกลางของสัญญาณสามารถแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ

            4.1.พวกที่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ (Guided  Media) ได้แก่ สายเคเบิล  สายโทรศัพท์ สายใยแก้วนำแสง

            4.2.พวกที่ไม่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้  (Unguided  Media) หรือสื่อกลางไร้สายได้แก่ชั้นบรรยากาศ สุญญากาศ และน้ำ

        5. โปรโทคอล ( Protocol )
           คือข้อกำหนดมาตรฐาน หรือข้อตกลงในเรื่องรูปแบบของข้อมูลข่าวสาร ระหว่างผู้ส่ง และผู้รับ โปรโทคอลเปรียบเสมือนภาษาที่่
นักเรียนใช้ในการพูดคุยกัน ถ้าเราใช้ภาษาไทย ในการสนทนาเพื่อนทุกคนก็เข้าใจ แต่ถ้านักเรียนใช้ภาษาอื่นที่เพื่อนไม่รู้จักจะทำให้เกิดความสับสนไม่สามารถสื่อสารกันได้

        6. ตัวแปลงสัญญาณ ( Communication Device )
           คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงข้อมูลที่ ต้องการส่งให้อยู่ในรูปของสัญญาณที่สามารถส่งผ่านช่องทางการสื่อสารที่จะใช้แปลงสัญญาณที่ได้จากช่องทางการส่งข้อมูลเมื่อถึงปลายทาง ให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้รับเข้าใจ
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network )

           ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host)  และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)

                                                                        


                ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญและจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ

                                                                          

ประโยชน์ที่ได้รับจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์

                1. ใช้ในการสื่อสารข้อมูล เราสามารถรับส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างที่เราจะได้ยินกันบ่อย ๆ หรือบางคนอาจจะเคยใช้งานมาแล้วก็คือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail หรือ E-mail ) ซึ่งเป็นการรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว และราคาประหยัด เมื่อเทียบกับการใช้โทรศัพท์หรือการส่งไปรษณีย์

                2. การใช้ข้อมูลข่าวสารร่วมกัน  ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งได้รับอนุญาตสามารถเข้าถึงข่าวสารข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบนเครือข่ายเดียวกัน ข้อมูลข่าวสารนี้อาจจะอยู่ในรูปแบบใดก็ได้ เช่น เอกสารการประชุมจากโปรแกรมสร้างเอกสาร รูปภาพจากโปรแกรมกราฟิก หรือรายชื่อนักเรียนจากโปรแกรมฐานข้อมูล เป็นต้น ก่อนหน้าที่จะมีการนำระบบเครือข่ายมาใช้ ส่วนใหญ่เราจะใช้แผ่นดิสก์เก็ตในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เมื่อมีระบบเครือข่าย การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันก็รวดเร็วและง่ายขึ้น

                3. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน  คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ร่วมกันได้ อันเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อทรัพยากรเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น แทนที่เราจะต้องซื้อเครื่องพิมพ์ให้กับผู้ใช้เครื่องแต่ละคนในเครือข่าย ทุกคนสามารถใช้เครื่องพิมพ์ส่วนกลางร่วมกันได้

                4. การใช้ซอฟต์แวร์ร่วมกัน  เครื่องข่ายทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมต่างๆที่มีอยู่บนเครือข่ายร่วมกันได้
ผู้ขายซอฟต์แวร์โดยส่วนใหญ่จะขายซอฟต์แวร์ให้กับองค์กรในลักษณะของใบอนุญาตองค์กร ( Site License ) คือ การอนุญาตให้ผู้ใช้หลายๆคนสามารถใช้ซอฟต์แวร์นั้นได้พร้อมกัน ซึ่งจะคิดราคาตามจำนวนผู้ใช้ แต่คำนวณแล้วจะถูกกว่าการที่จะต้องซื้อซอฟต์แวร์ให้กับแต่ละคน

สรุป
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป 
โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร ซึ่งมีความสำคัญและเกิดประโยชน์ต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมากทั้งในเรื่องการบริหารงานและการลงทุน ซึ่งแต่ลละหน่วยงานก็จะมีรูปแบบของการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กรใหญ่หรือเล็ก และการติดต่อระหว่างหน่วยงานหรือต่างองค์กร เราสามารถแบ่งประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เป็น
การแบ่งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามขนาด ได้แก่ แบบ LAN(Local Arer Network),
MAN(Metropolitan Area Network) และ WAN(Wide Area Network)
การแบ่งระบบเครือข่ายตามลักษณะการให้บริการ ได้แก่ เพียร์-ทู-เพียร์ (Peer to Peer)
และ ไคลเอ็นต์-เซิร์ฟเวอร์ (Client Server)
- อินเทอร์เตอร์ (Internet) เป็นคำผสมระหว่าง Interconnection กับ Network ซึ่ง
เป็นการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายสากลที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากที่สุดในโลก
- อินทราเน็ต (Intranet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมต่อภายในองค์กร
ที่เปลี่ยนโปรโตคอลในการสื่อสารบนระบบเครือข่ายแบบแลน (LAN)เดิมๆ ไปเป็นโปรโตคอล TCP/IP เช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ต่างกันตรงที่เป็นระบบเครือข่ายปิด ใช้เฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น



บทที่่ 1 หลักการเบื้องต้นของการสื่อสาร


 หลักการเบื้องต้นของการสื่อสาร

          ถ้าจะกล่าวกันว่าการสื่อสารสร้างโลก  จะเห็นว่าคำกล่าวนี้น่าจะเป็นจริง  เพราะจะเห็นว่าในการดำรงชีวิตของมนุษย์โลกและกิจกรรมตลอดจนธุรกิจต่างๆ  จะสำเร็จลงได้ด้วยดีก็ย่อมต้องมีการสื่อสารที่ดีเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ  ซึ่งการสื่อสารนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ  แต่ที่จะกล่าวถึงก็คือการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
          การสื่อสารข้อมูล (Data Communication)  คือ  การส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งซึ่งเรียกว่าจุดเริ่มต้น  ผ่านพาหนะนำส่งข้อมูล  ซึ่งเรียกว่าตัวกลาง  เพื่อจะให้ข้อมูลนั้นสามารถไปยังจุดหมายปลายทาง  ซึ่งเรียกว่าผู้รับ
พื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล
            การสื่อสารข้อมูลต้องมีองค์ประกอบ ส่วนคือ
1.                แหล่งกำเนิด (Source) คือตังส่งข้อมูล  เช่น  ครื่องคอมพิวเตอร์
2.                พาหนะนำสัญญาณ หรือตัวกลาง (Medium) เช่นสายโทรศัพท์  สายเคเบิ้ล  คลื่นวิทยุ เป็นต้น
3.                ตัวรับข้อมูล (Snik) เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  หรือ  เทอร์มินัล

แหล่งกำเนิด
ผู้รับ
ตัวกลาง
แสดงองค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสาร

ความรู้พื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
                การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์  คือ  การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทางโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งเชื่อมต่อกันอยู่ด้วยสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง
                ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  คือ  ระบบเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่  2  ตัวขึ้นไป  เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกันได้
  2.สัญญาณดิจิตอล (Digital  Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง  ที่มีขนาแน่นอน
        ซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างคำสองคำ  คือ  สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด  ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกัน

ทิศทางการสื่อสารข้อมูล

สามารถแบ่งทิศทางการสื่อสารข้อมูลได้เป็น แบบ  คือ
                1.การสื่อสารข้อมูลแบบทิศทางเดียว(Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งออกจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยไม่สามารถส่งย้อนกลับมาได้  เช่น  ระบบวิทยุ  หรือโทรทัศน์
                2.การสื่อสารข้อมูลแบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) ข้อมูลจะถูกส่งออกจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง ข้อมูลสามารถส่งสลับกันไปมาได้ทั้งสองทิศทาง  โดยวิธีการต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น  เช่น  วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด
                3.การสื่อสารข้อมูลแบบสองทิศทาง (Full  Duplex) ข้อมูลจะถูกส่งออกจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง  ข้อมูลสามารถส่งพร้อมกันได้ทั้งสองทิศทางอย่างอิสระ  สามารถโต้ตอบกันได้  เช่น  ระบบโทรศัพท์



การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมและแบบขนาน

           พื้นฐานของการเชื่อมโยงระหว่าง ตำแหน่ง  มีอุปกรณ์  2  ชุด  ทางซ้ายมือเป็นสถานีควบคุมระบบ  ซึ่งเรียกว่า  สถานีปฐมภูมิ (Remote) ข้อมูลจะถูกส่งออกไปยัง  สถานีทุติยภูมิ (Secondary) หรืออุปกรณ์ทางไกล  (Remote) ซึ่งเป็นที่สิ้นสุดของระบบ  โดยเชื่อมโยง (Link) การสื่อสารซึ่งปกติจะอยู่ในรูปแบบของการต่อแบบขนานจากอุปกรณ์อย่างหนึ่งหรือมากกว่าขึ้นไป  ชุดอุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์  เครื่องพิมพ์ (Printer)   แป้นพิมพ์ (Keyboard) เครื่องแฟกซ์ (Facsimile : FAX ) และส่วนแสดงผลข้อมูล (Display  Termanal) ข่าวสารเล่านี้จะถูกเปลี่ยนจากรูปแบบเดิมให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล  โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะได้รับข้อมูลที่ส่งมาในรูปแบบข้อมูลแบบขนานเข้าสู่ระบบ  ซึ่งข้อมูลขนาน (Parallel Data) คือกลุ่มของดิจิตอลบิต (Digital Bit)  ซึ่งพร้อมที่จะนำมาใช้ได้ในเวลาเดียวกัน  แต่ละบิตใช้สื่อสารแต่ละเส้นทางของตนเองจึงทำให้ส่งข้อมูลได้หลายๆ บิตในเวลาเดียวกัน  แต่การที่จะต้องใช้เส้นทางข้อมูลหลายๆ  เส้นทางทำได้ลำบากและเสียค่าใช้จ่ายสูงเมื่อต้องการส่งระยะทางไกลๆ  ดังนั้น  การส่งข้อมูลไปตามเส้นทางข้อมูลเดียวระหว่าง  2  สถานีเป็นที่นิยมใช้กันมากกว่า  การกระทำเช่นนี้ใช้ได้เมื่อเราใช้ข้อมูลแบบขนาน  จากนั้นก็เปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบอนุกรม  (Serial) ซึ่งเป็นข้อมูลของแต่ละบิตต่อเนื่องกัน  แม้วิธีนี้จะส่งข้อมูลได้ช้ากว่าแต่ก็ใช้เส้นทางข้อมูลเพียงเส้นทางเดียวในการเคลื่อนย้ายข้อมูล


                การส่งข้อมูลภายในระบบการสื่อสารจากแหล่งต้นกำเนิดไปปลายทางสามารถรับส่งข้อมูลผ่านสารการสื่อสารสามารถทำได้  2  วิธี  คือ
                1.กรณีการส่งข้อมูลแบบอนุกรม  แต่ละบิตของข้อมูลถูกส่งไปใยช่องทางการสื่อสาร  1  ช่องและครั้งละ 1  บิต  เรียงลำดับกันไป  ความผิดพลาดเกิดขึ้นน้อย  จึงสามารถส่งข้อมูลไปได้ในระยะทางไกลๆ  และลำดับการรับข้อมูลจะตรงกับลำดับการส่ง  ค่าใช้จ่ายในการส่งข้อมูลจะราคาถูกกว่าแบบขนาน  เพราะใช้ช่องทางการสื่อสารเพียงช่องเดียว  ความเร็วในการส่งข้อมูลประมาณ  300-1,200 บิตต่อวินาที
                2.กรณีการส่งข้อมูลแบบขนาน  ทุกบิตของข้อมูลจะถูกแบบส่งตามช่องทางการสื่อสารในเวลาเดียวกัน เมื่อเทียบทั้ง  2  วิธีพบว่า  การส่งข้อมูลแบบขนาน  เนื่องจากการส่งข้อมูลแบบขนานต้องใช้สายนำข้อมูลจำนวนมาก  และยังต้องมีความเร็วในการส่งสูงกว่าด้วยเพราะทุกบิตส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน  การส่งข้อมูลแบบขนานมีความเร็วสูงกว่า 9,600  บิตต่อวินาที  มีผลทำให้การใช้งานการส่งข้อมูลแบบขนานเหมาะสำหรับเครื่องรับติดตั้งใกล้เครื่องส่ง  ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์จะมีความยาว  8  บิต  หรือ  16  บิต  ต่อ  1  คำ  ดังนั้นจ้องมีสายให้พอกับจำนวนบิตที่ต้องการส่งออกไปพร้อมกัน   เช่น  ข้อมูล  8  บิต  ก็ต้องมีสายส่ง  8  เส้น  เป็นต้น

ความหมายของคำที่ใช้ในการสื่อสาร

เมื่อกล่าวถึงระบบที่ใช้ในการสื่อสาร จะมีคำที่เกี่ยวข้องซึ่งมักจะใช้สับสนกันคือ
1.             โทรคมนาคม หรือการสื่อสารทางไกลเป็นการส่งสัญญาณการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ของข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ชนิดใดก็ได้ ดังนั้น จึงความหมายในรูปแบบของการสื่อสารทางโทรศัพท์ การส่งสัญญาณโทรทัศน์ อิเล็กทรอนิกส์ การส่งสัญญาณโทรศัพท์ โดยผ่านดาวเทียม
2.             การสื่อสารข้อมูล เป็นการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ในรูปของข้อมูลเท่านั้นคำว่า Data Communication
จะมีความหมายใกล้เคียงกับคำเหล่านี้ปกติจะหมายถึงการส่งข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ แต่ความหมายจริงๆ แล้วคำนี้จะหมายถึงการส่งข้อมูลทางโทรเลข และการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ

ลักษณะข้อมูลแบบดิจิตอล

บิต (Bit)
เป็นหน่อยข้อมูลดิจิตอลที่เล็กที่สุด ใช้ระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลและทฤษฎีข้อมูลข้อมูลของบิตมีสถานะที่เป็นไปได้ สถานะคือ
บิต     0            (ปิด)
บิต      1       (เปิด)
เคลาด์อีแชนนอน  เริ่มใช้คำว่า บิต  ในงานเขียนของเขาในปี พ.ศ.2491 โดยย่อจากคำเต็ม

ไบต์ (Byte)
เป็นกลุ่มของบิตซึ่งเดิมมีหลายขนาน แต่ปัจจุบัน มักเท่ากับ 8 บิต ไบต์ขนาน 8 บิต ไบต์ขนานบิตมีชื่อเรียกว่า  ออกเท็ต สามารถ เก็บค่าได้

เวิร์ด (Word)
เป็นมาตรฐานตายตัว บนเครื่องคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรม TA -32   จำนวน16 บิตจะเรียกว่าเวิร์ดในขณะที่32 บิตเรียกว่าดับเบิลเวิร์ด ในขณะที่สถาปัตยกรรมอื่นๆหนึ่งเวิร์ดมีค่าเท่ากับ 32 บิต 64บิตหรือค่าอื่นๆ
ในระบบโทรคมนาคม หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการส่งนิยมใช้หน่วยในรูปของบิตต่อวินาทีบิตเป็นหน่วยวัดข้อมูลเล็กที่สุดที่ใช้กันทั่วไป
หน่วยนับ
       1กิโลบิต  (Kb)       =1,000 บิต           หรือ  1,024  บิต
   1เมกะบิต (Mb)    =1,000กิโลบิต     หรือ     1,024
1จิกะบิต (Gb)       =1,000เมกะบิต     หรือ  1,024
   1เทราบิ  (Tb)         =1,000 จิกะบิต      หรือ    1,024

สรุป
  การสื่อสาร  หมายถึง  กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลโดยผ่านช่องทางหรือสื่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
                การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างผู้ส่งและผู้รับที่อยู่ห่างไกลกันด้วยระบบการสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) เป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล
                ระบบการสื่อสารโทรคมนาคมจะส่งข้อมูลผ่านสื่อหรือตัวกลาง เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนจากภายนอก โดยการเปลี่ยนข้อมูลเป็นสัญญาณหรือรหัส  เมื่อถึงปลายทางจะต้องถอดรหัส (สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) เพื่อให้ผู้รับเข้าใจข้อมูลที่ถูกส่งมาถึง

การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์
                  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ราคาไม่แพงมาก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้มีการขยายปริมาณการใช้เพิ่มขึ้น มีการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กกับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สำนักงานใหญ่ เพื่อเรียกใช้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยการเชื่อมเข้ากับโปรเซสเซอร์ของคอมพิวเตอร์หลัก  ผ่านซอฟต์แวร์หลักที่เรียกว่า อุปกรณ์อินเตอร์เฟซ (Interface)  โดยใช้สายโทรศัพท์เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดข้อมูล
                     โมเด็ม (MODEM : Modulation-Demodulation Device) เป็นอุปกรณ์อินเตอร์เฟซที่สำคัญของระบบการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์

ภาพการใช้โมเด็มเชื่อมโยงเครือข่าย