ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล ( Data communication )
คือ การส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ซึ่งข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันนี้มีได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียง เป็นต้น เปรียบเทียบอย่างง่ายๆการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆก็เหมือนกับการพูดคุยระหว่างนักเรียนในกลุ่มหรือการโทรศัพท์คุยกัน ข้อมูลในที่นี้คือบทสนทนาที่นักเรียนแลกเปลี่ยนกันนั่นเอง



ปัจจัยสำคัญในการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสาร มีองค์ประกอบ 6 ประการ คือ
1. ผู้ส่งสาร (Sender) คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดสารไปสู่ผู้รับสาร
2. ผู้รับสาร (Receiver) คือ ผู้ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกส่งมาจากผู้ส่งสาร
3. สาร (Message) คือ เนื้อความ หรือข้อมูลที่ออกมาจากผู้ส่งสาร
4. สื่อ (Channel)
การสื่อสาร มีองค์ประกอบ 6 ประการ คือ
1. ผู้ส่งสาร (Sender) คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดสารไปสู่ผู้รับสาร
2. ผู้รับสาร (Receiver) คือ ผู้ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกส่งมาจากผู้ส่งสาร
3. สาร (Message) คือ เนื้อความ หรือข้อมูลที่ออกมาจากผู้ส่งสาร
4. สื่อ (Channel)
คือ ช่องทางในการสื่อสาร เช่นนักเรียนพูดคุยกันในห้องเรียนมีอากาศเป็นสื่อกลางในการส่งสารนั่นเอง หรือตัวกลางของสัญญาณต่างๆสื่อหรือตัวกลางของสัญญาณสามารถแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
4.1.พวกที่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ (Guided Media) ได้แก่ สายเคเบิล สายโทรศัพท์ สายใยแก้วนำแสง
4.2.พวกที่ไม่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ (Unguided Media) หรือสื่อกลางไร้สายได้แก่ชั้นบรรยากาศ สุญญากาศ และน้ำ
5. โปรโทคอล ( Protocol )
4.1.พวกที่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ (Guided Media) ได้แก่ สายเคเบิล สายโทรศัพท์ สายใยแก้วนำแสง
4.2.พวกที่ไม่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ (Unguided Media) หรือสื่อกลางไร้สายได้แก่ชั้นบรรยากาศ สุญญากาศ และน้ำ
5. โปรโทคอล ( Protocol )
คือข้อกำหนดมาตรฐาน หรือข้อตกลงในเรื่องรูปแบบของข้อมูลข่าวสาร ระหว่างผู้ส่ง และผู้รับ โปรโทคอลเปรียบเสมือนภาษาที่่
นักเรียนใช้ในการพูดคุยกัน ถ้าเราใช้ภาษาไทย ในการสนทนาเพื่อนทุกคนก็เข้าใจ แต่ถ้านักเรียนใช้ภาษาอื่นที่เพื่อนไม่รู้จักจะทำให้เกิดความสับสนไม่สามารถสื่อสารกันได้
6. ตัวแปลงสัญญาณ ( Communication Device )
นักเรียนใช้ในการพูดคุยกัน ถ้าเราใช้ภาษาไทย ในการสนทนาเพื่อนทุกคนก็เข้าใจ แต่ถ้านักเรียนใช้ภาษาอื่นที่เพื่อนไม่รู้จักจะทำให้เกิดความสับสนไม่สามารถสื่อสารกันได้
6. ตัวแปลงสัญญาณ ( Communication Device )
คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงข้อมูลที่ ต้องการส่งให้อยู่ในรูปของสัญญาณที่สามารถส่งผ่านช่องทางการสื่อสารที่จะใช้แปลงสัญญาณที่ได้จากช่องทางการส่งข้อมูลเมื่อถึงปลายทาง ให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้รับเข้าใจ
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network )
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)

ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญและจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ

ประโยชน์ที่ได้รับจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. ใช้ในการสื่อสารข้อมูล เราสามารถรับส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างที่เราจะได้ยินกันบ่อย ๆ หรือบางคนอาจจะเคยใช้งานมาแล้วก็คือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail หรือ E-mail ) ซึ่งเป็นการรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว และราคาประหยัด เมื่อเทียบกับการใช้โทรศัพท์หรือการส่งไปรษณีย์
2. การใช้ข้อมูลข่าวสารร่วมกัน ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งได้รับอนุญาตสามารถเข้าถึงข่าวสารข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบนเครือข่ายเดียวกัน ข้อมูลข่าวสารนี้อาจจะอยู่ในรูปแบบใดก็ได้ เช่น เอกสารการประชุมจากโปรแกรมสร้างเอกสาร รูปภาพจากโปรแกรมกราฟิก หรือรายชื่อนักเรียนจากโปรแกรมฐานข้อมูล เป็นต้น ก่อนหน้าที่จะมีการนำระบบเครือข่ายมาใช้ ส่วนใหญ่เราจะใช้แผ่นดิสก์เก็ตในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เมื่อมีระบบเครือข่าย การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันก็รวดเร็วและง่ายขึ้น
3. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ร่วมกันได้ อันเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อทรัพยากรเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น แทนที่เราจะต้องซื้อเครื่องพิมพ์ให้กับผู้ใช้เครื่องแต่ละคนในเครือข่าย ทุกคนสามารถใช้เครื่องพิมพ์ส่วนกลางร่วมกันได้
4. การใช้ซอฟต์แวร์ร่วมกัน เครื่องข่ายทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมต่างๆที่มีอยู่บนเครือข่ายร่วมกันได้
ผู้ขายซอฟต์แวร์โดยส่วนใหญ่จะขายซอฟต์แวร์ให้กับองค์กรในลักษณะของใบอนุญาตองค์กร ( Site License ) คือ การอนุญาตให้ผู้ใช้หลายๆคนสามารถใช้ซอฟต์แวร์นั้นได้พร้อมกัน ซึ่งจะคิดราคาตามจำนวนผู้ใช้ แต่คำนวณแล้วจะถูกกว่าการที่จะต้องซื้อซอฟต์แวร์ให้กับแต่ละคน
สรุป
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป
โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร ซึ่งมีความสำคัญและเกิดประโยชน์ต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมากทั้งในเรื่องการบริหารงานและการลงทุน ซึ่งแต่ลละหน่วยงานก็จะมีรูปแบบของการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กรใหญ่หรือเล็ก และการติดต่อระหว่างหน่วยงานหรือต่างองค์กร เราสามารถแบ่งประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เป็น
การแบ่งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตามขนาด ได้แก่ แบบ LAN(Local Arer Network),
MAN(Metropolitan Area Network) และ WAN(Wide Area Network)
การแบ่งระบบเครือข่ายตามลักษณะการให้บริการ ได้แก่ เพียร์-ทู-เพียร์ (Peer to Peer)
และ ไคลเอ็นต์-เซิร์ฟเวอร์ (Client Server)
- อินเทอร์เตอร์ (Internet) เป็นคำผสมระหว่าง Interconnection กับ Network ซึ่ง
เป็นการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายสากลที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากที่สุดในโลก
- อินทราเน็ต (Intranet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมต่อภายในองค์กร
ที่เปลี่ยนโปรโตคอลในการสื่อสารบนระบบเครือข่ายแบบแลน (LAN)เดิมๆ ไปเป็นโปรโตคอล TCP/IP เช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ต่างกันตรงที่เป็นระบบเครือข่ายปิด ใช้เฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น